Background



นโยบายการบริหาร
คำแถลงนโยบาย นายวีระชัย เตือนวีระเดช นายกเทศมนตรีตำบลมาบอำมฤต
13 พฤษภาคม 2564

0


ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ คำแถลงนโยบาย นายวีระชัย เตือนวีระเดช นายกเทศมนตรีตำบลมาบอำมฤต ได้ที่นี่

เอกสารแนบ
นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น
8 มีนาคม 2564

0


นายธีรพล  พนาวัฒนวรกุล
นายกเทศมนตรีตำบลมาบอำมฤต
แถลงนโยบายในที่ประชุมสภาเทศบาลตำบลมาบอำมฤต
ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2555
 
(ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2552 มาตรา 48)
เทศบาลตำบลมาบอำมฤตจึงได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการท้องถิ่นไว้โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ  คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารท้องถิ่น 4 ปี  เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังต่อไปนี้ตามลำดับดังนี้ 
1.นโยบายเร่งด่วน จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
1.  แก้ปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค รวมไปถึงน้ำประปาที่ประชาชนในเขตเทศบาลเดือดร้อน
2.  เร่งปรับปรุงฟื้นฟูตลาดสดเทศบาลมาบอำมฤตให้ได้รับรางวัล 5 ดาว 
3.  เร่งสร้างถนนคอนกรีต 4 เลน ถนนวงศ์วานิช จากทางรถไฟถึงสามแยกวัดมาบอำมฤต
4.  ย้ายงานทะเบียนราษฎร์ จากอำเภอปะทิวกลับมาที่สำนักงานเทศบาลตำบลมาบอำมฤต
5.  ปรับปรุงพัฒนาทีมกู้ภัย และอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพสูง ทันสมัย พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง
6.  ส่งเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ประชาชนในเขตเทศบาลให้มีศักยภาพความพร้อมที่จะรองรับการที่ประเทศไทยจะมีการเปิดตัวเข้าสู่ระบบประชาคมอาเซียน (AEC) หรือ Asian Community  ในปีพ.ศ.2558
7.  วางรากฐานให้ชาวเทศบาลตำบลมาบอำมฤต ร่วมมือและประสานงานกับผู้นำองค์กรทุกภาคส่วน ตลอดจนประชาชนในเขตเทศบาล
8.  เน้นส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในเขตเทศบาลให้ดีกว่าเดิมในกลุ่มผู้สูงอายุ สตรี แม่บ้าน รวมถึงกลุ่มเด็กและเยาวชน
9.  เน้นส่งเสริมดูแลพัฒนาการเด็กในครรภ์มารดา ถึงอายุ 6 ปี  เป็นกรณีพิเศษ  เพราะใช้งบประมาณน้อยแต่ผลลัพธ์สูง  ในด้านสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (EQ)
10.   ปรับปรุงแก้ไขสภาพสิ่งแวดล้อมและงานสาธารณสุขให้ให้เป็นเมืองที่สะอาด� สวยงาม� ปราศจากมลภาวะ
11.   ส่งเสริมพัฒนากีฬาในกลุ่มประชาชนทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ
12.   ส่งเสริมอาชีพประชาชนทุกสาขาให้มีการรวมกลุ่มในรูปวิสาหกิจชุมชน
13.   ส่งเสริมและอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น
14.   ปรับปรุงและพัฒนา การทำงานของข้าราชการ ลูกจ้าง  โดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
2. นโยบายการบริหารท้องถิ่น  ที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปี
1. นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 พัฒนาปรับปรุงระบบการบริการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน คูระบายน้ำ กิจการประปา ไฟฟ้าและโทรศัพท์สาธารณะ
1.2 เสริมสร้างมาตรการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในชุมชน
1.3 ส่งเสริมการพัฒนาภูมิทัศน์ ปรับปรุงย่านชุมชน และสถานที่ราชการ หน่วยต่าง ๆ ของเทศบาล ( อาทิ เช่น สำนักงานเทศบาล ที่ทำการงานป้องกันฯ และการจัดทำผังเมืองเทศบาลตำบลมาบอำมฤต ให้สอดคล้องกับ ทิศทางการพัฒนาบ้านเมืองที่น่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่
2. นโยบายด้านการพัฒนาสังคม
2.1 รณรงค์ส่งเสริมกระบวนการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม การสร้างวินัย และจิตสาธารณะของคนในชุมชน
2.2 พัฒนาองค์ความรู้สู่ชุมชน สร้างชุมชนเทศบาล  ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
2.3 ส่งเสริมและจัดทำแผนแม่บทชุมชน และแผนปฏิบัติการชุนชน การรวมกลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และการสร้างเครือข่ายการพัฒนาสังคมที่สอดคล้องกับมิติความเป็นเมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนและชุมชน
2.4 ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ และจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และเชื่อมโยงการทำงานด้านสวัสดิการสังคมกับศูนย์พัฒนาสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อขับเคลื่อนเรื่องศูนย์บริการชุมชน แบบมีส่วนร่วม
2.5 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่สอดคล้องกับทิศทางของการสร้างสร้างสังคมที่อยู่ดีมีสุข มีความเป็นทั้งบ้าน เมือง และชุมชนน่าอยู่ของท้องถิ่นเทศบาลตำบลมาบอำมฤต
3. นโยบายการพัฒนาสาธารณสุขและส่งเสริมคุณภาพชีวิต
3.1 ส่งเสริมการพัฒนายกระดับงานด้านการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบองค์รวมให้เกิดการตระหนักรู้และตื่นตัวต่อการจัดการสุขภาวะภาคประชาชน โดยใช้กระบวนการด้านจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน
3.2 ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน และการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นยุทธศาสตร์การสร้างนำซ่อม
3.3 สนับสนุนการควบคุมป้องกันการเผยแพร่ระบาดของโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ ที่อันตราย และการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
3.4 ส่งเสริมงานสุขภาพอนามัย และการจัดการสุขภาวะภาคประชาชน โดยผ่านกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเขตเมือง (อสม.)
3.5 พัฒนาปรับปรุงงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชุมชน ผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร เพื่อเข้าสู่มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาดอร่อย
3.6 ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมที่สอดคล้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
-4-
4. นโยบายการพัฒนาการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
4.1 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากระบวนการทางการศึกษาทั้งในระบบ  นอกระบบ และตามอัธยาศัย ด้วยการจัดการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี ๒๕๕๐ สำหรับ เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้มีโอกาสเรียนฟรี เรียนดี และเรียนอย่างมีคุณภาพ
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับศาสนศึกษา การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และการพัฒนาศาสนสถาน
4.3 สนับสนุนและส่งเสริมการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.4 ส่งเสริมกิจกรรมการแข่งขันกีฬาทั้งภายในและภายนอกชุมชน รวมทั้งกิจกรรมอันเนื่องในโอกาสวันสำคัญของทางราชการ รัฐประเพณี และประเพณีท้องถิ่น 
5. นโยบายการจัดระเบียบชุมชน
5.1 เสริมสร้างความเป็นชุมชนเข้มแข็ง และการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับแนวทางของความเป็น "บ้านเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน และสังคมอยู่ดีมีสุข"
5.2 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและการรักษาความปลอดภัยในชุมชน สร้างเครือข่ายด้านการบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน (EMS) หนึ่งตำบลหนึ่งทีมกู้ภัย ตำรวจชุมชน และงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.)
5.3 ส่งเสริมการสร้างวินัยจราจรและสนับสนุนกิจกรรมการจัดระเบียบจราจรในย่านชุมชน ตลอดจนมาตรการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน 
6. นโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
6.1 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และพัฒนาอาชีพ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
6.2 พัฒนายกระดับ และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนากระบวนการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน
6.3 ส่งเสริมกิจกรรมที่สอดคล้องตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
7. นโยบายการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
7.1 รณรงค์ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงานแก่ประชาชน และชุมชน
7.2 พัฒนากระบวนการองค์กรชุมชน ประชาชน และเยาวชน และการสร้างเครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงานโดยชุมชน เพื่อชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการขยะแบบ มีส่วนร่วม ตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทางอันนำไปสู่การจัดการขยะ และการพัฒนาแนวทางและรูปแบบการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานแก๊สชีวภาพ  และการพัฒนา ค้นหาพลังงานทางเลือกในระดับชุมชน
7.3 ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนการจัดทำโครงการ และการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งไปสู่การลดสภาวะโลกร้อน
7.4 ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการลดสภาวะโลกร้อน รวมทั้งกิจกรรมทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมและพลังงานในระดับชุมชน
8. นโยบายด้านการเมืองและการบริหาร (ภายในองค์กรและภายนอกองค์กร)
8.1 พัฒนาองค์กรเทศบาลตำบลมาบอำมฤตให้เป็นองค์กรธรรมาภิบาล ที่มีหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และเป็นหน่วยบริการสังคมที่ดี มีมาตรฐาน ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา การสร้างกระบวนการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับ แก่ สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการ และพนักงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลอันสำคัญ  พร้อมทั้งสร้างเสริมกระบวนการพัฒนาระบบการบริการสาธารณะที่ดีมีมาตรฐาน เพื่อรองรับการบริการแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
8.2 ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมทางการบริหารและการเมือง ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยพัฒนากลไกการทำงานในระบอบสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของชุมชนและภาคประชาสังคม
8.3 ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรชุมชนและคณะกรรมการชุมชน ที่ดำเนินกิจกรรม และโครงการต่างๆ โดยชุมชนและเพื่อชุมชน รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อพัฒนายกระดับการขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางของเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน
8.4 ประสานงานเพื่อก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการทำงาน ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และพื้นที่อื่น ๆ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชน และสังคม ได้เข้าถึงการเฝ้าระวัง การตรวจสอบ และติดตามประเมินผล การดำเนินงานและการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลมาบอำมฤตได้ในทุกระดับ
8.5 สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารมาใช้กับการพัฒนาองค์กร สนับสนุนงานวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) ในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงาน องค์กร และสถาบันการศึกษาระดับท้องถิ่นและระดับต่างๆ